การบริหารจัดการความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และไวรัสที่ติดต่อทางเลือดในอุตสาหกรรมทางเพศ

แนวทางปฏิบัตินี้สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมการให้บริการทางเพศ ซึ่งอาจช่วยในการควบคุมความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)

Shape

ความรับผิดชอบของคุณด้านอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้บริการทางเพศ

พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) เป็นกฎหมายที่ช่วยรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน เป็นที่รู้จักในชื่อพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) ได้วางความรับผิดชอบไว้ที่บุคคลต่าง ๆ รวมถึงนายจ้าง บุคคลผู้บริหารจัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงาน ผู้ที่เป็นนายจ้างตัวเองและลูกจ้าง คุณมีความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับบทบาทของคุณ ค้นหาเกี่ยวกับบทบาทของคุณและความรับผิดชอบในสถานที่ทำงาน

อะไรคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) หมายถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) หมายถึงไวรัสที่มีการติดต่อผ่านทางเลือด โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) เป็นการติดเชื้อที่แพร่ผ่านการสัมผัสทางเพศ การสัมผัสทางเพศรวมถึงทางช่องคลอด ทวารหนักหรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) บางชนิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายเท่านั้น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อื่น ๆ สามารถติดต่อได้ด้วยการที่ผิวหนังสัมผัสกัน

ตัวอย่างของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) รวมถึง

  • โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น คลามีเดีย โกโนเรีย และซิฟิลิส
  • โรคติดเชื้อไวรัส เช่น โรคเริมอวัยวะสืบพันธุ์ และหูดที่อวัยวะสืบพันธุ์
  • โรคติดเชื้อปรสิตเช่น โรคพยาธิในช่องคลอดไตรโคโมไนอาซิส

การควบคุมความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)

พนักงานให้บริการทางเพศทำงานในสถานที่มากมายหลากหลายและนำเสนอการบริการที่แตกต่างกันมากมาย พนักงานให้บริการทางเพศจำนวนมากเกี่ยวข้องกับประเภทของการทำงานให้บริการทางเพศที่แตกต่างกัน ความเสี่ยงในการส่งต่อเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อาจมีหลากหลายระหว่างกิจกรรมและบริการที่แตกต่างกัน การลดการแลกเปลี่ยนของเหลวจากร่างกายให้น้อยที่สุด เช่น อสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือเลือดสามารถลดความเสี่ยงการติดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)ได้อย่างมาก

หากคุณเป็นนายจ้าง คุณมีหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) ในการควบคุมความเสี่ยงในความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงานของคุณ พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) บัญญัติว่าความเสี่ยงในความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงานต้องถูกกำจัดเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ตามสมควร หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ทำทุกอย่างที่สมควรในการกำจัดความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หากไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผลในการกำจัดความเสี่ยง ให้ลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามสมควร

การลดความเสี่ยงอาจรวมถึงมาตรการการควบคุมเดี่ยว หรืออาจรวมการผสมผสานการควบคุมที่แตกต่างที่ทำงานร่วมกัน การควบคุมของคุณต้องให้ระดับสูงที่สุดในการป้องกันที่เป็นไปได้จริงอย่างสมเหตุสมผล

https://www.worksafe.vic.gov.au/hierarchy-control

https://www.legislation.vic.gov.au/in-force/acts/occupational-health-and-safety-act-2004/043

การใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน

ถุงยางอนามัยแบบใช้ภายนอกและภายในและอุปกรณ์ป้องกันอื่น เช่น แผ่นยางอนามัย หรือถุงมือเป็นมาตรการควบคุมที่สามารถลดความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) เมื่อใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงของคุณ คุณควรจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ไว้หลาย ๆ ขนาดสำหรับพนักงานใช้ระหว่างกะทำงานของพวกเขา

ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อมัน

  • ใส่ได้พอดีและถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ถุงยางอนามัยแบบใช้ภายนอกควรจะเป็นขนาดที่ถูกต้องและไม่หลวมหรือคับเกินไป ถุงยางอนามัยควรจะสามารถดึงลงไปถึงฐานของอวัยวะเพศชายหรือของเล่นทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ไม่ชำรุดหรือฉีกขาด
  • ใช้กับเจลหล่อลื่นที่เข้ากันได้ เช่น ของเหลวหล่อลื่นสูตรน้ำ เพื่อป้องกันการฉีกขาดเสียหาย
  • ใช้ภายในวันหมดอายุ
  • ไม่ใช้ซ้ำ
  • เก็บในที่เย็นและแห้ง ห่างจากความร้อนและความชื้น

ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นมีประสิทธิภาพน้อยในการลดความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่สามารถแพร่ผ่านการสัมผัสทางผิวหนังต่อผิวหนัง ซึ่งรวมถึงไวรัส เช่น งูสวัด และการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซิฟิลิส

การควบคุมความเสี่ยงอื่น ๆ

ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันควรใช้กับการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่ให้การปกป้องจากโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) การควบคุมความเสี่ยงอื่น ๆ รวมถึง

  • การประเมินลูกค้าสำหรับอาการหรือสัญญาณการติดเชื้อที่มองเห็นได้ หมายถึงการมองดูที่อวัยวะเพศชายของลูกค้า ทวารหนัก ช่องคลอด ปากและบริเวณรอบ ๆ ภายใต้แสงสว่างที่เพียงพอสำหรับมองหาแผลเปื่อย แผลพุพอง ผื่น การมีเลือดหรือของเหลวไหลออกมา หากลูกจ้างสงสัยว่าลูกค้าจะมีโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) คุณควรสนับสนุนพวกเขาให้ปฏิเสธหรือเปลี่ยนบริการ บริการอื่น ๆ อาจรวมถึงการช่วยตัวเองแบบร่วมกัน หรือการนวดกระตุ้นกำหนัดที่หลีกเลี่ยงบริเวณของการติดเชื้อ คุณควรจะสนับสนุนลูกจ้างของคุณให้แนะนำให้ลูกค้าไปตรวจก่อนที่จะกลับมาใช้บริการ
  • การให้ข้อมูลในการเข้าถึงการตรวจเช็กสุขภาพทางเพศโดยสมัครใจขึ้นอยู่กับความจำเป็นส่วนบุคคลและคำแนะนำจากแพทย์ ลูกจ้างอาจปรึกษาแพทย์ของพวกเขาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ A ไวรัสตับอักเสบ B โรคติดเชื้อฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (HPV) และ โรคเอ็มพ็อกซ์ (โรคฝีดาษลิง) พวกเขาอาจปรึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมของยาที่ใช้ในป้องกันการติดชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสโรค (PrEP) PrEP เป็นยาทานที่ป้องกันเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • การให้ข้อมูลกับลูกค้าเกี่ยวกับการปฏิบัติทางเพศที่ปลอดภัยของธุรกิจ ซึ่งอาจรวมถึงแผ่นพับและโปสเตอร์ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกัน
  • ขั้นตอนการปฏิบัติสุขอนามัยที่ดีและการทำความสะอาดเช่น
    • การเปลี่ยนผ้าปูที่นอนปลอกหมอนและผ้าเช็ดตัวระหว่างเปลี่ยนลูกค้า
    • ฆ่าเชื้อโรควัตถุที่ใช้หรือสัมผัสระหว่างรอบลูกค้า
    • สวมถุงมือขณะที่ทำความสะอาดของเหลวจากร่างกายหรือเลือด และมีชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดสารชีวภาพหกรั่วไหล
    • ล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำอุ่นและสบู่
    • ทิ้งถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นที่ใช้แล้วอย่างปลอดภัย

กระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) รวมถึงการตรวจสุขภาพทางเพศ การฉีดวัคซีนและการให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (PrEP)

https://www.health.vic.gov.au/publications/sti-and-bbv-prevention-for-the-sex-industry

WorkSafe มีคำแนะแนวเกี่ยวกับการบริหารจัดการในงานให้บริการทางเพศ สิ่งอำนวยความสะดวกของ WorkSafe สำหรับแนวทางปฏิบัติในงานให้บริการทางเพศรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาดของเหลวจากร่างกาย

หน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) แห่งรัฐวิกตอเรียให้แนวทางในการทิ้งขยะทางการแพทย์และขยะที่เกี่ยวข้อง แนวทางนี้รวมข้อมูลสำหรับสถานที่ให้บริการทางเพศไว้ด้วย

https://www.epa.vic.gov.au/about-epa/publications/iwrg612-1

ปรึกษาหารือกับลูกจ้างของคุณ

พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) กำหนดว่านายจ้างต้องให้คำปรึกษากับลูกจ้างและตัวแทนด้านอนามัยและความปลอดภัย (HSR) ใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่กำหนดที่ส่งผลต่อพวกเขาหรือน่าจะส่งผลต่อพวกเขา หากคุณเป็นนายจ้าง คุณต้องทำตามหน้าที่นี้ให้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามสมควร จุดประสงค์ในการให้คำปรึกษาภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) 'ลูกจ้าง' รวมถึงบุคคลต่อไปนี้ในเรื่องที่คุณมีอำนาจควบคุม

  • ผู้รับจ้างอิสระที่คุณจ้างงาน
  • ลูกจ้างของผู้รับจ้างอิสระ

มีภาระหน้าที่ในการปรึกษาหารือด้วยเช่นกันระหว่างนายจัางกับผู้ให้บริการจ้างแรงงานซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยต่อคนงานจ้าง

เมื่อทำการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) การให้ลูกจ้างระบุหรือจัดการกับปัจจัยเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ ให้โอกาสลูกจ้างและตัวแทนด้านความปลอดภัยและอนามัยพูดเกี่ยวกับความจำเป็นในการป้องกันและอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องการใช้ สนับสนุนพวกเขาให้ถามคำถาม หยิบยกข้อกังวล นำเสนอทางเลือก และให้คำแนะนำต่าง ๆ

ข้อมูล คำสั่ง การฝึกอบรม และการควบคุมดูแล

พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OHS) กำหนดให้นายจ้างให้สิ่งต่อไปนี้แก่ลูกจ้าง

  • ข้อมูล
  • คำสั่ง
  • การฝึกอบรม
  • การควบคุมดูแล

สำหรับวัตถุประสงค์นี้ 'นายจ้าง' รวมถึงผู้รับจ้างอิสระและลูกจ้างของผู้รับจ้างอิสระด้วย

ในฐานะนายจ้าง คุณต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดเมื่อปฏิบัติตามหน้าที่ให้ครบสมบูรณ์ คุณต้องจัดหาสิ่งที่ 'จำเป็น' สำหรับลูกจ้างเพื่อการทำงานอย่างปลอดภัยและปราศจากความเสี่ยงต่อสุขภาพ ระดับของข้อมูล คำสั่ง การฝึกอบรม และควบคุมดูแลที่จำเป็นสามารถแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของภัยอันตรายในสถานที่ทำงาน และยังขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงมากแค่ไหนและจะควบคุมความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร

คุณควรจะให้ข้อมูล คำสั่ง การฝึกอบรมและการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) กับลูกจ้างของคุณ ซึ่งรวมถึง ยกตัวอย่างเช่น

  • ข้อมูลในการบริการที่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกันอื่น
  • ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และ ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพและการรักษาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)
  • จะเช็กลูกค้าอย่างไรสำหรับสัญญาณโรคติดเขื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่มองเห็นได้ และจะรับรู้อาการได้อย่างไร
  • กระบวนการในการขอความคิดเห็นที่สองหลังการประเมินลูกค้าสำหรับอาการโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI)
  • วิธีใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นอย่างปลอดภัย
  • วิธีเก็บรักษาถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่น
  • วิธีทิ้งถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นที่ใช้แล้วอย่างปลอดภัย
  • การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อโรคและการฝึกสุขอนามัยที่ดี
  • วิธีการต่อรองการใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นกับลูกค้า และวิธีรับมือกับลูกค้าที่ปฏิเสธไม่ใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่น
  • ทำอย่างไรหากลูกค้าตั้งใจเอาถุงยางอนามัยออก หรือทำลายถุงยางหรือตั้งใจที่จะไม่ใช้ถุงยาง นี่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการขาดความยินยอมภายใต้พระราชบัญญัติอาชญากรรม
  • ทำอย่างไรหากถุงยางอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกันฉีกขาดหรือเลื่อนหลุด

คุณอาจให้ข้อมูล คำสั่ง การฝึกอบรม หรือการควบคุมดูแลแก่พนักงาน ในกรณีนี้ ต้องทำให้มั่นใจว่าพนักงานเหล่านั้นมีทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็น และต้องทำให้มั่นใจว่าพวกเขาคุ้นเคยกับนโยบายและขั้นตอนต่าง ๆ ของธุรกิจ

กระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV)

https://www.health.vic.gov.au/publications/sti-and-bbv-prevention-for-the-sex-industry

การเก็บประวัติการควบคุมความเสี่ยงของคุณ

การเก็บบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับวิธีจัดการความเสี่ยงของคุณและระบบความปลอดภัยของงานอาจมีประโยชน์มากมายสำหรับที่ทำงานของคุณ การบันทึกเป็นเอกสารว่าสถานที่ทำงานของคุณได้ควบคุมความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) และไวรัสที่ติดต่อทางเลือด (BBV) สามารถ

  • ช่วยในการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมพนักงานใหม่
  • แสดงให้ผู้อื่น เช่น ลูกค้า เห็นว่าคุณบริหารจัดการความเสี่ยงในสถานที่ทำงานของคุณอย่างไร
  • แสดงให้เห็นวิธีตัดสินใจที่เป็นการปฏิบัติอย่างสมเหตุสมผลตามกระบวนการให้คำปรึกษา

บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอาจรวมถึง

  • สมุดบันทึกในการทำความสะอาดสถานที่และการฆ่าเชื้อโรค รวมถึงการซักรีดผ้าปูที่นอนปลอกหมอนและผ้าเช็ดตัว
  • สมุดบันทึกเกี่ยวกับปริมาณ วันหมดอายุ และวันที่เปลี่ยนของถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่น

บริการให้คำปรึกษาของ WorkSafe (WorkSafe Advisory Service)

บริการให้คำปรึกษาของ WorkSafe (WorkSafe Advisory Service) เปิดระหว่าง 7:30 น. ถึง 18:30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ หากคุณต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อ WorkSafe โดยการใช้บริการล่ามและแปล (TIS National) หรือบริการต่อสายแห่งชาติ (National Relay Service) ได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง