ความรับผิดชอบด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของงานบริการทางเพศ

ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมทางเพศในรัฐวิกตอเรียหรือไม่ คำแนะนำนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องสิทธิ์ และความรับผิดชอบทางกฎหมายของคุณ คำแนะนำนี้มีไว้สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ที่จัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศ

Shape

การปกป้องสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน

หากคุณทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมทางเพศ มีกฎหมายที่จะช่วยคุ้มครองคุณให้ปลอดภัย และกฎหมายที่คุณต้องปฏิบัติตามเพื่อปกป้องผู้อื่นให้ปลอดภัยด้วย 1 ในกฎหมายเหล่านั้นคือ พระราชบัญญัติอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ค.ศ. 2004 พระราชบัญญัติ OHS จะช่วยปกป้องสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน โดยให้ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการควบคุมความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน สุขภาพภายใต้พระราชบัญญัติ OHS รวมถึงสุขภาพจิตด้วย

กฎระเบียบด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ค.ศ. 2017 ถือเป็นกฎหมายอีกชุดหนึ่ง รู้จักกันในชื่อ กฎระเบียบ OHS ซึ่งเสริมพระราชบัญญัติ OHS ซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติตามหน้าที่ และพันธกรณี และกระบวนการที่สนับสนุนพระราชบัญญัติ OHS

สุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงานเรียกอีกอย่างว่า อาชีวอนามัย และความปลอดภัย รู้จักกันดีในชื่อ OHS พระราชบัญญัติ OHS กำหนดหลักการ หน้าที่ และสิทธิที่สำคัญเกี่ยวกับ OHS

พระราชบัญญัติ OHS จะช่วยให้ลูกจ้าง และบุคคลอื่นมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยในสถานที่ทำงานโดยกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อ:

  • ระบุสิ่งที่เป็นอันตราย
  • ควบคุมความเสี่ยง

สิ่งที่เป็นอันตรายคือ สิ่งที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ ความเสี่ยงคือ โอกาสที่สิ่งที่เป็นอันตรายจะก่อให้เกิดอันตราย อันตราย รวมถึงการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย และการเสียชีวิต

จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติ OHS

จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติ OHS คือเพื่อ:

  • ปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของลูกจ้าง และบุคคลอื่นในสถานที่ทำงาน
  • กำจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือสวัสดิภาพของลูกจ้าง และบุคคลอื่นในสถานที่ทำงาน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การทำงานของนายจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระไม่ได้สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยต่อสาธารณชน
  • เกี่ยวข้องกับลูกจ้าง นายจ้าง และองค์กรที่เป็นตัวแทนของบุคคลเหล่านั้นในการสร้าง และประยุกต์ใช้มาตรฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการ

หลักการด้านสุขภาพ และความปลอดภัยตามพระราชบัญญัติ OHS

พระราชบัญญัติ OHS มีหลักการด้านสุขภาพ และความปลอดภัย 5 ประการ นั่นคือ:

  1. สุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง บุคคลอื่นในสถานที่ทำงาน และสาธารณชนเป็นสิ่งสำคัญ สุขภาพ และความปลอดภัยต้องมีการป้องกันความเสี่ยงในระดับสูงสุดที่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล
  2. ผู้ที่ควบคุมหรือจัดการเรื่องที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือความปลอดภัย มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้น พวกเขาจะต้องกำจัดหรือลดความเสี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างสมเหตุสมผล
  3. นายจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระควรมีความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และในการปฏิบัติงานของพวกเขา พวกเขาต้องทำทุกวิถีทางที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อสุขภาพ และความปลอดภัย
  4. นายจ้าง และลูกจ้างควรแบ่งปันข้อมูล และแนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง พวกเขาควรแบ่งปันข้อมูล และแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการกำจัดหรือลดความเสี่ยง
  5. ลูกจ้างมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในประเด็นด้านสุขภาพ และความปลอดภัย พวกเขาควรได้รับการสนับสนุนให้นำเสนอในประเด็นด้านสุขภาพ และความปลอดภัยด้วย

แนวคิดการปฏิบัติอย่างสมเหตุสมผล

"สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล" เป็นแนวคิดทางกฎหมาย และเป็นข้อกำหนดภายใต้บางส่วนของพระราชบัญญัติ OHS และกฎระเบียบ OHS พูดง่ายๆ ก็คือ การทำในสิ่งที่คนมีเหตุผลในสถานะเดียวกันจะทำ

พระราชบัญญัติ OHS ระบุประเด็น 5 ประการที่ต้องพิจารณาเมื่อดำเนินการเรื่องสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล ทั้ง 5 ประการดังต่อไปนี้

  1. มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่อันตรายหรือความเสี่ยงจะเกิดขึ้น
  2. หากเกิดอันตรายหรือความเสี่ยงจะเกิดอันตรายมากน้อยเพียงใด
  3. ผู้มีหน้าที่รู้หรือควรรู้อย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับอันตรายหรือความเสี่ยง และวิธีกำจัดหรือลดอันตรายนั้นอย่างไร
  4. ความพร้อมใช้งานหรือความเหมาะสมของวิธีการกำจัดหรือลดความเสี่ยง
  5. ค่าใช้จ่ายในการกำจัดหรือลดอันตรายหรือความเสี่ยงคืออะไร

คำตอบจะช่วยตัดสินใจว่า สิ่งใดสามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล พวกเขาจะช่วยพิจารณาว่า บุคคลที่สมเหตุสมผลในสถานะเดียวกันจะทำอะไรเพื่อควบคุมความเสี่ยง

ตัวอย่างเช่น สถานที่ให้บริการอาจมีเชื้อราอยู่ในห้อง เชื้อราอาจเกิดจากการระบายอากาศไม่ดีหรือมีความชื้นรั่ว เชื้อราอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ การมีเชื้อราอาจหมายถึง นายจ้างหรือบุคคลที่มีการจัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงานไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ OHS ของตน พวกเขาไม่ได้จัดหา และรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

การเปลี่ยนหลังคา เพดาน และผนังเพื่อแก้ไขปัญหาเชื้อราอาจไม่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากเชื้อรา อาจปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผลโดยการ:

  • แก้ไขรอยรั่ว
  • ติดตั้งการระบายอากาศ การทำความร้อน และฉนวนที่เพียงพอ
  • ทำความสะอาดห้องเป็นประจำด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม

ไม่มีเรื่องใดที่จะกำหนดได้ว่า สิ่งใดเป็นหรือสิ่งใดที่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล การทดสอบเกี่ยวข้องกับการชั่งน้ำหนักแต่ละเรื่องในบริบทของสถานการณ์ และข้อเท็จจริงของกรณีนั้นๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างสมเหตุสมผล มีอยู่บนเว็บไซต์ WorkSafe

การกำจัดความเสี่ยง

พระราชบัญญัติ OHS ระบุว่า ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงานจะต้องถูกกำจัดออกไป เท่าที่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทำทุกอย่างที่สมเหตุสมผลเพื่อกำจัดความเสี่ยงออกจากสภาพแวดล้อมการทำงาน

การลดความเสี่ยง

อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดความเสี่ยง แม้จะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้ตามสมควรเพื่อที่จะกำจัดแล้ว แต่ความเสี่ยงก็ยังคงอยู่ พระราชบัญญัติ OHS ระบุว่า หากไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงได้อย่างสมเหตุสมผล ต้องทำให้ความเสี่ยงนั้นลดลง นั่นหมายถึง จำเป็นต้องทำทุกอย่างที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงนั้น

ผู้ที่มีความรับผิดชอบด้าน OHS

พระราชบัญญัติ OHS กำหนด ให้ผู้คน มีความรับผิดชอบในการควบคุมความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติ OHS ในอุตสาหกรรมทางเพศ ได้แก่:

  • นายจ้าง
  • บุคคลที่จัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงาน
  • ลูกจ้าง
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ

ใครคือนายจ้าง

คุณจะถือเป็นนายจ้างภายใต้พระราชบัญญัติ OHS หากคุณจ้างงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปภายใต้สัญญาจ้างงาน หากคุณจ้างลูกจ้างอยู่แล้ว ผู้รับเหมาอิสระที่คุณมีส่วนร่วมจะถูกจัดประเภทเป็นลูกจ้างของคุณในบางกรณี นอกจากนี้ ยังใช้ได้กับลูกจ้างของผู้รับเหมาอิสระด้วย

นายจ้างคือ บุคคล คำว่า บุคคลถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ OHS ให้รวมถึง:

  • นิติบุคคล
  • องค์กรหรือสมาคมที่ไม่ได้ทำการจัดตั้ง
  • ห้างหุ้นส่วน

ลูกค้าของผู้ให้บริการทางเพศไม่ใช่นายจ้างของพวกเขา

หากคุณไม่แน่ใจว่า คุณเป็นนายจ้างหรือไม่ ให้ขอคำแนะนำจากหน่วยงานอิสระจาก เช่น:

  • ตัวแทนทางกฎหมายของคุณ
  • สหพันธ์ศูนย์กฎหมายชุมชน
  • บริการส่งเรื่องต่อของสถาบันกฎหมายแห่งรัฐวิกตอเรีย

ประกัน

การประกัน WorkCover คือบริการที่ WorkSafe มอบให้ โดยจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายบางประการแก่นายจ้าง หากลูกจ้างได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

การประกัน WorkCover ถือเป็นภาคบังคับสำหรับนายจ้างในรัฐวิกตอเรียเกือบทั้งหมด เงินสมทบของนายจ้างจะเข้ากองทุนโครงการประกันภัย และนายจ้างทุกคนจะจ่ายเงินส่วนแบ่งที่ยุติธรรม คุณอาจได้รับโทษร้ายแรง หากคุณไม่ได้ลงทะเบียนประกัน WorkCover เมื่อคุณควรทำ

ข้อมูลเกี่ยวกับ WorkCover มีอยู่ในเว็บไซต์ WorkSafe หรือโทรติดต่อบริการให้คำปรึกษา WorkSafe ที่หมายเลข 1800 136 089

คุณจัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงานหรือไม่

หากคุณเป็นบุคคลที่บริหารจัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงานในระดับใดก็ตาม คุณมีหน้าที่รับผิดชอบภายใต้พระราชบัญญัติ OHS คุณต้องรับรองเท่าที่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผลว่า:

  • สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
  • วิธีการเข้า และออกจากสถานที่ทำงานมีความปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ใครคือลูกจ้าง

คุณจะถือเป็นลูกจ้างภายใต้พระราชบัญญัติ OHS หากคุณมีสัญญาจ้างงาน สัญญาอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือคำพูดก็ได้

ผู้ให้บริการทางเพศไม่ใช่ลูกจ้างของลูกค้า

หากคุณไม่แน่ใจว่า คุณเป็นลูกจ้างหรือไม่ ให้ขอคำแนะนำจากหน่วยงานอิสระจาก เช่น:

  • ตัวแทนทางกฎหมายของคุณ
  • สหพันธ์ศูนย์กฎหมายชุมชน
  • บริการส่งต่อของสถาบันกฎหมายแห่งรัฐวิกตอเรีย

ความช่วยเหลือ และสิทธิประโยชน์

หากคุณเป็นลูกจ้าง การประกัน WorkCover จะสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และผลประโยชน์อื่นๆ แก่คุณหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน WorkCover จะสามารถช่วยได้ หากงานของคุณ:

  • ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในสถานที่ทำงานได้
  • ต้องการบริการทางการแพทย์ และบริการที่คล้ายกัน
  • ต้องการความช่วยเหลือในการกลับไปทำงาน
  • มีอาการบาดเจ็บถาวร

ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกร้อง และเงินทดแทนของ WorkCover มีอยู่ในเว็บไซต์ WorkSafe คุณยังสามารถโทรติดต่อบริการให้คำปรึกษาของ WorkSafe ได้ที่หมายเลข 1800 136 089.

ใครคือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

คุณจะถือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หากคุณทำงานเพื่อตัวเอง และไม่มีลูกจ้าง คุณไม่มีสัญญาในการทำงานให้ใครเลย

หน้าที่ OHS ของนายจ้าง

ดูแลลูกจ้างให้มีสุขภาพดี และปลอดภัย

หากคุณจ้างคนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปภายใต้สัญญาจ้างงาน แสดงว่าคุณเป็นนายจ้าง ภายใต้พระราชบัญญัติ OHS นายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลลูกจ้าง และคนอื่นๆ ให้ปลอดภัย และมีสุขภาพดีในสถานที่ทำงาน

ซึ่งหมายความว่า ในฐานะนายจ้าง คุณต้อง:

  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย
  • รักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ ปลอดภัย
  • กระทำทั้ง 2 สิ่งนี้เท่าที่จะปฏิบัติได้ตามสมควร

สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยกำหนดให้คุณต้อง:

  • จัดให้มีระบบการทำงานที่ปลอดภัย และดูแลให้ระบบการทำงานมีความปลอดภัย
  • จัดให้มีอุปกรณ์ที่ปลอดภัย และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีการใช้ จัดการ จัดเก็บ และขนส่งอุปกรณ์ และสารต่างๆ อย่างปลอดภัย
  • รักษาสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และปราศจากความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คน
  • จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสวัสดิการของลูกจ้างอย่างเพียงพอ
  • ทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเท่าที่จะสามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล

คุณต้องทำต่อไปนี้เช่นกัน ให้ข้อมูล คำแนะนำ การฝึกอบรม หรือการกำกับดูแลแก่ลูกจ้างตามจำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย

หน้าที่ต่อผู้รับเหมาอิสระ

ลูกจ้างอาจไม่ใช่ลูกจ้างเพียงกลุ่มเดียวที่คุณต้องรักษาความปลอดภัย และสุขภาพที่ดีในสถานที่ทำงาน หากคุณจ้างบุคลากร และจ้างผู้รับเหมาอิสระด้วย คุณอาจมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้รับเหมาอิสระ และลูกจ้างของพวกเขา

หน้าที่ในการคอยดูแลสถานที่ทำงาน

นายจ้างต้องติดตามสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ซึ่งหมายความว่า คุณต้องแน่ใจว่าสภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย และปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง คุณต้องแน่ใจว่า ลูกจ้างรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ที่สำคัญคือ คุณต้องทำสิ่งต่อไปนี้:

  • ติดตามสุขภาพของลูกจ้าง ตัวอย่างเช่น รวบรวม และตรวจสอบข้อมูลเหตุการณ์ และการบาดเจ็บ
  • ตรวจสอบสภาพในสถานที่ทำงานใดๆ ภายใต้การจัดการหรือการควบคุมของคุณ เช่น การตรวจสอบปริมาณงาน และความเหนื่อยล้า
  • ให้ข้อมูลลูกจ้างเกี่ยวกับสุขภาพ และความปลอดภัย จะต้องเป็นภาษาที่ลูกจ้างเข้าใจ
  • เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพ และความปลอดภัย ของลูกจ้างตามขอบเขตที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันด้าน OHS ของคุณ
  • ระบุชื่อบุคคลในองค์กรที่สามารถติดต่อได้เพื่อสอบถามหรือร้องเรียนเกี่ยวกับสุขภาพ และความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง
  • ใช้ผู้เชี่ยวชาญ OHS ที่ผ่านการรับรองเพื่อขอคำแนะนำ OHS
  • ทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเท่าที่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล

สถานที่ทำงานไม่ใช่แค่อาคาร

สถานที่ทำงานคือสถานที่ใดๆ ที่ลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระทำงานอยู่ ไม่ใช่แค่อาคารหรือโครงสร้างเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า สถานที่ใดก็ตามที่ผู้ให้บริการทางเพศทำงาน จะกลายเป็นสถานที่ทำงาน มีการใช้กฎหมาย OHS

สถานที่ทำงานอาจเป็น เช่น ซ่อง คลับเปลื้องผ้า โรงแรม โมเต็ล บ้าน ห้องพัก สำนักงาน รถยนต์ หรือคาราวาน ไม่ว่าสถานที่ทำงานจะเป็นเช่นไร จะต้องปลอดภัยเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล

หน้าที่ต่อผู้อื่น

ในฐานะนายจ้าง คุณมีหน้าที่ต่อบุคคลอื่นที่งานของคุณส่งผลกระทบ คุณต้องแน่ใจว่า งานของคุณไม่ทำให้สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยง คุณต้องทำทุกอย่างที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น

ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการทำงานได้แก่:

  • ลูกค้า
  • ผู้เยี่ยมชม
  • พนักงานขาย
  • คนส่งของ
  • สาธารณชน

หน้าที่ในการปรึกษาหารือกับลูกจ้าง

พระราชบัญญัติ OHS ระบุว่า นายจ้างต้องปรึกษาหารือกับลูกจ้างของตน ซึ่งหมายความว่า คุณต้องพูดคุยกับลูกจ้างเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังทำซึ่งส่งผลกระทบหรือมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง คุณต้องรวมผู้รับเหมาอิสระ และลูกจ้างของพวกเขาไว้ในการปรึกษาหารือด้วย

คุณต้องปรึกษากับลูกจ้างเมื่อ:

  • การหา และตรวจสอบสิ่งที่เป็นอันตราย และความเสี่ยง
  • การตัดสินใจว่า จะควบคุมความเสี่ยงอย่างไร
  • การตัดสินใจเกี่ยวกับความเพียงพอของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับลูกจ้าง
  • ดำเนินการเป็นสมาชิกของคณะกรรมการด้านสุขภาพ และความปลอดภัย
  • การวางแผนการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หากการเปลี่ยนแปลงตามแผนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง
  • การวางแผนการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน
  • การวางแผนการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ สาร หรือสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ในสถานที่ทำงาน

คุณต้องปรึกษาหารือกับลูกจ้างเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนสำหรับ:

  • การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และความปลอดภัย
  • การปรึกษาหารือ
  • ติดตามสุขภาพของลูกจ้าง
  • การตรวจสอบสภาพสถานที่ทำงาน
  • ให้ข้อมูล และฝึกอบรมแก่ลูกจ้าง

การปรึกษาหารือกับลูกจ้างจะต้องมีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการของพวกเขาด้วย คุณต้องให้โอกาสลูกจ้างอย่างสมเหตุสมผลในการแบ่งปันความคิดเห็นของพวกเขา คุณต้องคำนึงถึงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของลูกจ้างด้วย

หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

นายจ้างต้องแจ้ง WorkSafe ทันทีหลังจากทราบเหตุการณ์บางอย่างในสถานที่ทำงาน เหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลให้บุคคลเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัส การบาดเจ็บสาหัส รวมถึงสิ่งที่ต้อง:

  • การรักษาพยาบาลภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับสาร
  • การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันทีในฐานะผู้ป่วยใน
  • การรักษาพยาบาลทันทีสำหรับการบาดเจ็บต่อไปนี้:
    • การตัดแขนขา
    • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือตาอย่างรุนแรง
    • การแตกของผิวหนัง เช่น หนังถลก
    • ไฟฟ้าช็อต
    • อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
    • การสูญเสียการทำงานของร่างกาย
    • การฉีกขาดอย่างรุนแรง

คุณต้องแจ้ง WorkSafe เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของพวกเขา เหตุการณ์เหล่านี้ได้แก่:

  • การเล็ดลอด การหก หรือการรั่วไหลของสารใดๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงสินค้าอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติสินค้าอันตราย ค.ศ. 1985
  • การระเบิดใน การระเบิด หรือไฟไหม้
  • ไฟฟ้าช็อต
  • การตกหรือหลุดจากที่สูงของเครื่องมือ วัตถุ หรือสิ่งของใดๆ
  • การพังทลาย พลิกคว่ำ ขัดข้อง หรือทำงานผิดปกติของเครื่องมือใดๆ หรือทำให้เครื่องมือเสียหาย
  • การถล่มหรือการถล่มบางส่วนของอาคารหรือโครงสร้าง

นายจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้ง WorkSafe หากนายจ้างเป็นบุคคลเดียวในเหตุการณ์ที่:

  • ได้รับบาดเจ็บ
  • ได้รับอันตรายอย่างอื่น
  • มีความเสี่ยง

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องแจ้ง และความรับผิดชอบของนายจ้างได้จากเว็บไซต์ WorkSafe

หน้าที่ OHS ของผู้ที่จัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงาน

ผู้ที่จัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงานมีหน้าที่ด้าน OHS หากคุณเป็นบุคคลที่มีการจัดการหรือการควบคุมสถานที่ทำงาน คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า:

  • สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
  • วิธีการเข้า และออกจากสถานที่ทำงานมีความปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

คุณต้องทำเช่นนี้เท่าที่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล

ความรับผิดชอบของคุณในฐานะบุคคลที่มีหน้าที่บริหารจัดการหรือควบคุมสถานที่ทำงาน ได้แก่:

  • อาคาร เช่น ความสมบูรณ์ของโครงสร้าง และการป้องกันผู้อยู่อาศัยจากสภาพอากาศ
  • การบริการต่างๆ เช่น แสงสว่าง และการระบายอากาศ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง และชั้นวางของ

หน้าที่เหล่านี้ใช้กับเรื่องที่คุณจัดการหรือควบคุมเท่านั้น

หน้าที่ OHS ของลูกจ้าง

หากคุณมีสัญญาการจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจา แสดงว่าคุณเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างในอุตสาหกรรมทางเพศมีภาระผูกพันทางกฎหมาย ในฐานะลูกจ้าง คุณต้องดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยของตนเองตามสมควร คุณต้องดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยตามสมควรของบุคคลที่งานของคุณอาจได้รับผลกระทบ คุณไม่ควร:

  • มีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้คน
  • ใช้ทางลัดที่อาจลดระดับความปลอดภัย

ลูกจ้างต้องให้ความร่วมมือกับความพยายามของนายจ้างในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหรือกฎระเบียบ OHS คุณสามารถทำได้โดย:

  • ปฏิบัติตามนโยบาย และขั้นตอนด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
  • เข้าร่วมการฝึกอบรมด้านสุขภาพ และความปลอดภัย และปฏิบัติตามแนวทาง และคำแนะนำที่ให้ไว้
  • ใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัยตามที่นายจ้างจัดหาให้

คุณต้องไม่แทรกแซงหรือใช้สิ่งใดก็ตามที่นายจ้างมอบให้ในสถานที่ทำงานเพื่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือสวัสดิการในสถานที่ทำงาน โดยเจตนาหรือความประมาทเลินเล่อ

คุณสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในสถานที่ทำงานได้โดยแจ้งให้นายจ้างทราบถึงอันตรายใดๆ

หน้าที่ OHS ของผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ผู้ประกอบอาชีพอิสระทำงานเพื่อตนเอง และไม่มีลูกจ้าง พวกเขาไม่มีสัญญาจ้างงานกับใคร

ความรับผิดชอบ

ในฐานะผู้ประกอบอาชีพอิสระ คุณมีภาระผูกพันภายใต้พระราชบัญญัติ และกฎระเบียบ OHS คุณต้องแน่ใจว่า ธุรกิจหรืองานของคุณไม่ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือความปลอดภัยของพวกเขา คุณในฐานะผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องทำเช่นนี้เท่าที่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล

คุณยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรายงานเหตุการณ์ที่ต้องแจ้งไปยัง WorkSafe หากบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ได้รับอันตราย หรือตกอยู่ในความเสี่ยงร้ายแรง ซึ่งหมายความว่า คุณต้องแจ้ง WorkSafe ทันทีหลังจากทราบถึงเหตุการณ์บางอย่างในสถานที่ทำงาน เหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลให้บุคคลเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัส การบาดเจ็บสาหัส รวมถึงสิ่งที่ต้อง:

  • การรักษาพยาบาลภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับสาร
  • การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันทีในฐานะผู้ป่วยใน
  • การรักษาพยาบาลทันทีสำหรับการบาดเจ็บต่อไปนี้:
    • การตัดแขนขา
    • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือตาอย่างรุนแรง
    • การแตกของผิวหนัง เช่น หนังถลก
    • ไฟฟ้าช็อต
    • อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
    • การสูญเสียการทำงานของร่างกาย
    • การฉีกขาดอย่างรุนแรง

คุณต้องแจ้ง WorkSafe เกี่ยวกับเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของพวกเขา เหตุการณ์เหล่านี้ได้แก่:

  • การเล็ดลอด การหก หรือการรั่วไหลของสารใดๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงสินค้าอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติสินค้าอันตราย ค.ศ. 1985
  • การระเบิดใน การระเบิด หรือไฟไหม้
  • ไฟฟ้าช็อต
  • การตกหรือหลุดจากที่สูงของเครื่องมือ วัตถุ หรือสิ่งของใดๆ
  • การถล่ม พลิกคว่ำ ขัดข้อง หรือทำงานผิดปกติของเครื่องมือใดๆ หรือทำให้เครื่องมือเสียหาย
  • การถล่มหรือการถล่มบางส่วนของอาคารหรือโครงสร้าง

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ต้องแจ้ง และความรับผิดชอบของนายจ้างได้จากเว็บไซต์ WorkSafe

ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

ภายใต้พระราชบัญญัติ OHS สถานที่ทำงานคือ สถานที่ใดๆ ที่ลูกจ้างหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระทำงานอยู่ ในฐานะผู้ประกอบอาชีพอิสระ ทุกที่ที่คุณทำงานจะกลายเป็นสถานที่ทำงาน และกฎหมาย OHS จะมีผลบังคับใช้ สถานที่ทำงานของคุณอาจเป็นห้องต่างๆ ในบ้าน โรงแรมหรือโมเทล รถยนต์ หรือคาราวาน ไม่ว่าสถานที่ทำงานจะเป็นเช่นไร คุณต้องแน่ใจว่า งานของคุณจะไม่ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยง คุณต้องทำเช่นนี้เท่าที่สามารถทำได้อย่างสมเหตุสมผล

ติดต่อ WorkSafe

WorkSafe อยู่ที่นี่เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจถึงความรับผิดชอบ และสิทธิในสถานที่ทำงานของคุณ

โทรติดต่อผู้ให้คำแนะนำ WorkSafe ได้ที่หมายเลข 1800 136 089 หรือติดต่อ WorkSafe ทางออนไลน์

หน้าที่เกี่ยวข้อง